วันอังคารที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2553

O-net 52 ข้อ 53-57





ตอบ 3
อธิบาย การสะท้อนของคลื่น (Reflection)
เมื่อคลื่นเคลี่ยนที่ไปชนกับสิ่งกีดขวาง หรือเคลื่อนที่ไปยังปลายสุดของตัวกลาง หรือระหว่างรอยต่อของตัวกลาง คลื่นส่วนหนึ่งจะเคลื่อนที่กลับมาในตัวกลางเดิม เรียกว่า การสะท้อนของคลื่น และคลื่นที่สะท้อนกลับมา เรียกว่า คลื่นสะท้อน ส่วนคลื่นที่ไปกระทบปลายสุดของตัวกลางก่อนเกิดการสะท้อนเรียกว่า คลื่นตกกระทบ






ตอบ 4
อธิบาย wavelength หรือความยาวคลื่น แทนด้วยตัวอักษร กรีก คือ lambda ความยาวคลื่น จะเกี่ยวข้องกับความถี่ ถ้าความถี่สูง ความยาวคลื่นก็จะน้อย ถ้าความถี่ต่ำ ความยาวคลื่นก็จะมาก



ตอบ 4.
อธิบาย ดอพเพลอร์มี 3 ลักษณะคือ
1. ผู้สังเกตอยู่นิ่ง แหล่งกำเนิดเสียงเคลื่อนที่ แหล่งกำเนิดเสียงเคลื่อนที่เข้าหาผู้สังเกต ความถี่จะมากขึ้น
แหล่งกำเนิดเสียงเคลื่อนที่ออกจากผู้สังเกต ความถี่จะลดลง
2. แหล่งกำเนิดเสียงอยู่นิ่ง ผู้สังเกตเคลื่อนที่ ผู้สังเกตเคลื่อนที่เข้าหาแหล่งกำเนืดเสียง ความถี่จะมากขึ้น ผู้สังเกตเคลื่อนที่ออกจากแหล่งกำเนืดเสียง ความถี่จะลดลง
3. ทั้งแหล่งกำเนืดเสียงและผู้สังเกตเคลื่อนที่ เคลื่อนที่เข้าหากัน ความถี่มากขึ้น เคลื่อนที่ออกจากกัน ความถี่ลดลง
ตอบ 2.
อธิบาย คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เกิดจากการรบกวนทางแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic disturbance) โดยการทำให้สนามไฟฟ้าหรือสนามแม่เหล็กมีการเปลี่ยนแปลง เมื่อสนามไฟฟ้ามีการเปลี่ยนแปลงจะเหนี่ยวนำให้เกิดสนามแม่เหล็ก หรือถ้าสนามแม่เหล็กมีการเปลี่ยนแปลงก็จะเหนี่ยวนำให้เกิดสนามไฟฟ้า

คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นคลื่นตามขวาง ประกอบด้วยสนามไฟฟ้าและสนามแม่เหล็กที่มีการสั่นในแนวตั้งฉากกัน และอยู่บนระนาบตั้งฉากกับทิศการเคลื่อนที่ของคลื่น คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นคลื่นที่เคลื่อนที่โดยไม่อาศัยตัวกลาง จึงสามารถเคลื่อนที่ในสุญญากาศได้
สมบัติของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
1.ไม่ต้องใช้ตัวกลางในการเคลื่อนที่
2.อัตราเร็วของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าทุกชนิดในสุญญากาศเท่ากับ 299,792,458 m/s ซึ่งเท่ากับ อัตราเร็วของแสง
3.เป็นคลื่นตามขวาง
4.ถ่ายเทพลังงานจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง
5.ถูกปล่อยออกมาและถูกดูดกลืนได้โดยสสาร
6.ไม่มีประจุไฟฟ้า
7.คลื่นสามารถแทรกสอด สะท้อน หักเห และเลี้ยวเบนได้
ตอบ 4.
อธิบาย เกิดจากการเคลื่อนที่ของดวงดาวในระบบแกแลคซี่ดวงอาทิตย์ส่องแสงตกกระทบโลกแต่เพียงซีกเดียวเสมอ เมื่อโลกหมุนไปแต่ละส่วนบนผิวโลกได้รับแสงสว่างในเวลากลางวันและมืดในเวลากลางคืนสลับกันไป โลกหมุนในทิศทางทวนเข็มนาฬิกาเมื่อมองจากที่สูงเหนือขั้วโลกเหนือการหมุนของโลกทำให้ดวงอาทิตย์ ขึ้นทางทิศตะวันออกเราอาจแสดงให้เห็นการเคลื่อนที่ของดวงอาทิตย์ประจำวันจากตะวันออกไปตะวันตก ได้จากการสังเกตการเคลื่อนที่ของเงาของแท่งไม้ที่ปักไว้ในแนวดิ่งบนพื้นดินในที่สุดดวงอาทิตย์จะตกทาง ทิศตะวันตก และกลางคืนก็จะตามมา การที่โลกหมุนรอบตัวเองในทิศทวนเข็มนาฬิกา (หรือจากทิศตะวันตกไปทิศตะวันออก) จึงทำให้เห็นดวงอาทิตย์เคลื่อนที่ในทิศตามเข็มนาฬิกา ทิศที่เห็นดวงอาทิตย์ขึ้น กำหนดให้เป็นทิศตะวันออก ส่วนทิศที่เห็นดวงอาทิตย์ตกกลับไป เรียกว่าทิศตะวันตก จึงกล่าวได้ว่า การกำหนดให้ทิศจ่าง ๆ เกิดขึ้นเพราะโลกหมุนรอบตัวเองนั่นเอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น